วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมทองคำ - บัญญัติ พานิชกุล โรงพยาบาลวัดสิงห์ นพ.พัลลภ ยอดศิรจินดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท เป็นประธานประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผล (กวป.) ครั้งที่ 11/2567 โดยมี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท พร้อมทั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ และหัวหน้ากลุ่มงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาทเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมมีการแสดงความยินดีกับรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ที่ได้รับการเลื่อนระดับเชี่ยวชาญ ได้แก่ นายไพศาล ขุนวิเศษ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ)
ในวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. นพ.มนตรี หนองคาย เป็นประธานการร่วมรับฟังการประชุมเตรียมความพร้อมการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2568 พร้อมด้วย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท และ หัวหน้ากลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังการชี้แจงแนวทางการกำกับติดตาม ประเมินผลตามนโยบายสำคัญของผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 ผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุมเจ้าพระยา ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมหลวงปู่ศุข (401) ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดชัยนาท นายนที มนตริวัต ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดชัยนาท (กรอ.จังหวัดชัยนาท) โดยมี นพ.พัลลภ ยอดศิรจินดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาทและหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม
สำนักงาน ก.พ.ร.ว่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ที่ยังไม่ครบถ้วนของหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะประเด็นการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงได้แจ้งแนวทางปฏิบัติที่ดีในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 เพื่อหน่วยงานสามารถดำเนินการได้ตามวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระดับเริ่มต้นตามที่คณะรัฐมนตรี
กำหนดการจัดกิจกรรมการขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ครั้งที่ 3 ในวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยสามารถรับชมกิจกรรม ดังกล่าวฯ ผ่านการถ่ายทอดสด Facebook Live พร้อมทั้งขอเชิญชวนประชาชนในจังหวัดชัยนาทร่วมกิจกรรมการนับคาร์บ
จังหวัดชัยนาทจึงขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์มติสมัชชาวิสาหกิจเพื่อสังคม ประจำปี 2567 ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของหน่วยงาน ทั้งนี้ สำหรับอำเภอขอให้แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ทราบและดำเนินการด้วย รายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วยปรากฎตาม QR Code ท้ายหนังสือฉบับนี้
จังหวัดชัยนาทจึงขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์มติสมัชชาวิสาหกิจเพื่อสังคม ประจำปี 2567 ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของหน่วยงาน ทั้งนี้ สำหรับอำเภอขอให้แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ทราบและดำเนินการด้วย รายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วยปรากฎตาม QR Code ท้ายหนังสือฉบับนี้
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
โทรศัพท์: 0-5640-5518
ศิลปะ…ถ่ายทอดจินตนาการ เสริมสร้างสมาธิ งานศิลปะวาดภาพระบายสีช่วยให้เด็กผ่อนคลาย ฝึกจินตนาการ เสริงสร้างสมาธิ เด็กจะได้ซึมซับความประณีต ส่งผลให้มีจิตใจที่อ่อนโยน เราขอขยายความเรื่องพัตนาการในแต่ละด้านของการเรียน ศิลปะ ให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ ด้านสมาธิ : เวลาที่เด็กอยู่กับงานศิลปะนั้น เขาจะมีสติจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำไม่ว่อกแว่ก เพื่อให้งานสำเร็จและสวยงามที่สุด ซึ่งการมีสมาธิยังส่งผลดีกับเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันที่ต้องเจออีกด้วย ด้านกล้ามเนื้อ : ศิลปะ ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อได้ เช่น การวาดรูประบายสี การปั้นดินน้ำมัน การต่อตัวต่อ ซึ่งจะมีการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่อยู่ตลอดเวลา จากการจับพู่กัน ดินสอสีหรือดินน้ำมัน เพื่อให้ออกมาเป็นงานศิลปะอย่างที่เขาจินตนาการเอาไว้ ด้านการแก้ไขปัญหา : ศิลปะ ช่วยสร้างทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เช่น หากเกิดผสมสีออกมาแล้วไม่เป็นดั่งใจที่คิดไว้ มันเป็นเพราะอะไรจะแก้ไขอย่างไรหรือถ้าหากปั้นดินน้ำมันออกมาแล้วไม่เหมือนอย่างที่จินตนาการเอาไว้ จะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ซึ่งเป็นการฝึกการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งยังสามารถนำเอาทักษะที่ได้นี้มาปรับใช้กับเรื่องอื่นในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ด้านความเชื่อมั่น : เพราะ ศิลปะไม่มีถูกผิด สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ตามใจชอบ เมื่อเด็กทำงานศิลปะจะทำให้ได้ปลดปล่อยความคิดความเป็นตัวเองออกมาไม่ต้องกลัวว่าจะผิด ดังนั้นงานศิลปะจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้เด็ก ๆ เชื่อมั่นในตัวเองมากยิ่งขึ้น กล้าคิดและกล้าแสดงออกอย่างอิสระ ศิลปะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ในครอบครัว ทำได้ทุกที่และทุกเวลา ขอแค่อย่าลืมสิ่งสำคัญว่า “ควรให้ลูกเลือกกิจกรรมที่เขาสนใจเป็นพิเศษ” เพราะ ผลงานศิลปะต้องออกมาจากความรู้สึกที่ต้องการจะสร้างสรรค์ถึงจะดีที่สุด ข้อมูลจาก : กรมอนามัย เว็บไซต์จาก : https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/heath_me_40_child_11/
📱 เล่นสนุกทั้งวัน 🏃♀️ ต้อง นอนเพียงพอตลอดคืน 🛌 ⭐🌙 📑 ในช่วงหยุดยาว หรือ ปิดเทอม เด็ก หรือ ผู้ปกครอง อาจคิดว่า นอนดึก ๆ ได้ เพราะ เป็นวันหยุดยาวไม่ต้องรีบตื่นไปไหน แต่การนอนน้อย นอนไม่เพียงพอ ไม่ได้หยุดส่งผลเสียต่อร่างกายตามการปิด-เปิดเทอมแต่อย่างใด เพราะ ยังไงแล้วเด็ก ๆ ก็ควรนอนเพียงให้พอเหมาะสมตามวัย ดังนี้ 🔸 1. เด็กวัยอนุบาลอายุ 3-5 ปี : ควรนอนหลับ 10-13 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 14 ชม./วัน🔸 2. เด็กวัยเรียน 6-13 ปี : ควรนอนหลับ 9-11 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 12 ชม./วัน🔸 3. เด็กวัยรุ่นอายุ 14-17 ปี : ควรนอนหลับ 8-10 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 11 ชม./วัน 🔖 เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : ในช่วงวัยเรียนวัยรุ่น เป็นช่วงที่เข้าถึงหน้าจอต่าง ๆ ได้ง่าย การงดให้ตารับแสงกระตุ่นหรือแสงสีฟ้า ก่อนนอน 2-3 ชม. และ งดชาร์จอุปกรณ์สื่อสาร บริเวณหัวนอน เพื่อการนอนหลับที่ง่ายขึ้น❗ และข้อควรระวังการอดนอน อาจทำให้มีอาการดังนี้1. ร่างกายอ่อนเพลีย และป่วยง่าย2. สมองทำงานช้าลง3. หน้าโทรม4. อารมณ์แปรปรวน5. ระบบไหลเวียนโลหิต และหลอดเลือดทำงานผิดปกติ ที่มาจาก : กรมอนามัย เว็บไซต์จาก : https://multimedia.anamai.moph.go.th/
ภาวะตะคริวสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัยและมักจะเกิดในผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มวัยอื่นเพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุส่วนหนึ่งจะลดลง และเกิดการอ่อนล้าได้ง่าย โดยปกติตะคริว ไม่อันตราย เว้นแต่ก่อให้เกิดอาการปวดนานเป็นชั่วโมง และส่งผลให้ขยับเขยื้อนได้ลำบากในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เกิดตะคริวขณะว่ายน้ำ หรือกำลังปีนบันได นอกจากนี้การเป็นตะคริวบ่อย หรือการที่บริเวณที่เป็นมีลักษณะบวมแดง หรือผิวหนังเปลี่ยนสี แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคอื่นๆได้ นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตะคริวเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกะทันหัน ซึ่งพบได้บ่อยในกล้ามเนื้อขา ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดได้นั้นมีหลายสาเหตุ ได้แก่ 1.การใช้กล้ามเนื้อนั้นๆ มากเกินไป ร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายไม่เพียงพอ 2. ยาบางตัว เช่น ยาไขมัน (กลุ่ม Statin) ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดัน ยาขยายหลอดลม เป็นต้น 3. โรคบางอย่างหรือภาวะบางอย่างของร่างกาย เช่น โรคไต โรคพาร์กินสัน ไทรอยด์ น้ำตาลต่ำ ดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง ระดับเกลือแร่บางอย่าง ในร่างกายต่ำ ร่างกายขาดน้ำ ภาวะเครียด หรือเส้นประสาททำงานผิดปกติ เป็นต้น 4.การไหลเวียนของเลือดบกพร่อง เช่น ภาวะเส้นเลือดตีบตัน หรือการบีบตัวของหัวใจไม่ดี 5. การทำงานของเซลล์ประสาททำงานผิดปกติ แพทย์หญิงบุษกร โลหารชุน ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อผู้สูงอายุเป็นตะคริวควรปฏิบัติตัว ดังนี้ 1.พักการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนนั้น 2. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นตะคริวอย่างช้าๆ 3.นวดบริเวณกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวเบาๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว 4.หากกล้ามเนื้อมีการหดเกร็งมากอาจใช้น้ำอุ่นหรือถุงอุ่นประคบ 5.หากตะคริวลดลงแต่ยังคงมีอาการปวดอาจใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ 6.หากพบว่าเป็นตะคริวบ่อย หรือทำให้รบกวนการนอนหรือนอนไม่หลับควรปรึกษาแพทย์ วิธีป้องกันการเกิดตะคริวในผู้สูงอายุ 1. หากไม่มีข้อห้ามหรือโดนจำกัดการดื่มน้ำ ให้ดื่มน้ำประมาณ 2-3 ลิตร/วัน 2. ก่อนเข้านอนสามารถออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาโดยการปั่นจักรยานอยู่กับที่เบา ๆ ประมาณ 2-3 นาที เพื่อคลายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 3. จิบเครื่องดื่มเกลือแร่ก่อนและหลังออกกำลังกาย 4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และความทนทาน ของกล้ามเนื้อ โดยเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำและมีการเคลื่อนไหวไม่เร็วมากซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุ และยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนและหลังออกกำลังกาย 5. พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียม ได้แก่ กล้วย ส้ม แคลเซียม ได้แก่ นม ปลาตัวเล็กๆ ที่รับประทานทั้งก้างได้ อาหารที่มีวิตามินอี เช่น ถั่ว น้ำมันพืช วิตามินบี 12 เช่น อาหารประเภทปลาและไข่ในมื้อเย็น 6. หลีกเลี่ยงอากาศเย็น และขณะนอนหลับควรให้บริเวณขาและเท้าอบอุ่นอยู่เสมอด้วยการห่มผ้าหรือสวมถุงเท้า 7. หาหมอนรองปลายเท้าขณะหลับ 8. เลือกรองเท้าที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อน่องและฝ่าเท้าในช่วงกลางวัน 9. หากกินยาแล้วมีอาการเป็นตะคริวซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม ที่มาจาก : สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์