รู้ได้ยังไงว่า?? เป็นข้อเข่าเสื่อม

รู้ได้ยังไงว่า?? เป็นข้อเข่าเสื่อม
กลุ่มงานสุขภาพดิจิทัล

วันที่เริ่มโพสต์ 4 ตุลาคม 2567 15:29 น.

รู้ได้ยังไงว่า?? เป็นข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิง มากกว่าเพศชาย เกิดจากการใช้งานข้อต่อเข่าอย่างต่อเนื่องจนทำให้กระดูกอ่อน ผิวข้อสึกกร่อน ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูปไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม

  • อายุ เนื่องจากใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานานตามอายุที่มากขึ้น
  • น้ำหนักตัวที่มากเกินไป  พบว่าน้้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระท้าต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกันเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะมีผลต่อเซลล์กระดูก อ่อนและเซลล์กระดูก ส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น
  • อุบัติเหตุ ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุมีการกระแทกที่ข้อเข่า หรือกระดูกข้อเข่าแตก เอ็นฉีก
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก คนที่ไม่ออกกำลังกายมักมีกล้ามเนื้อข้อเข่าและกระดูกข้อเข่าที่ไม่แข็งแรง

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

ในระยะแรก อาจเริ่มปวดเข่าเวลาที่มีการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้นลงบันได  และจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ นอกจากนี้อาจมีอาการข้อฝืดขัด โดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ

ในกรณีที่มีภาวะข้อเสื่อมรุนแรง จะมีอาการปวดรุนแรงขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า   หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ ถ้ามีข้อเสื่อมมานาน อาจส่งผลให้ไม่สามารถเหยียดหรืองอข้อเข่าได้สุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป

การป้องกันและรักษา

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดน้ำหนักที่กระทำต่อข้อเข่า
  • ลดการใช้ข้อเข่า
  • ออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าให้แข็งแรงและสม่ำเสมอ ด้วยการ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เดินเร็ว เป็นต้น
  • ถ้ามีอาการปวด บวมที่เข่ามาก จนกระทบกิจวัตรประจำวันอย่างมากควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาการรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

การกายภาพบำบัดในข้อเข่าเสื่อม

การกายภาพบำบัด จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น ปวดน้อยลงและขยับเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
การลดอาการปวด โดยใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อลดอาการปวดลง
การแนะนำท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละบุคคล
การออกกำลังการเสริมความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อให้ช่วยพยุงข้อเข่าลดการเสียดสีของข้อเข่าให้น้อยลง

ที่มาจาก : พรีเมียร์ โฮม เฮลท์ แคร์ โดย เครือรพ.ธนบุรี ให้บริการกายภาพบำบัดถึงบ้าน อาทิ กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต ตลอดจนกายภาพบำบัดออฟฟิศ ซินโดรม          รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่

จากเว็บไซต์ : https://premierehomehealthcare.co.th/

แกลเลอรี่



นายพัลลภ ยอดศิรจินดา
นายแพทย์พัลลภ ยอดศิรจินดา

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

โทรศัพท์: 0-5640-5518


กลุ่มงานภายในสสจ.ชัยนาท
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
โรงพยาบาล